คล้องจอง หมายถึง ก. สัมผัสกัน, มีเสียงสระเดียวกันหรือถ้ามีตัวสะกดก็ต้องอยู่ในมาตราเดียวกัน เช่น มี-ปี จันทร์-ฉัน การ-บาน; ไม่ขัดกัน เช่น พยานให้การคล้องจองกัน.
[คฺลอด] ก. ออกลูก, ออกจากครรภ์, ราชาศัพท์ว่า ประสูติ; (ปาก) ออก เช่น กฎหมายใหม่ยังไม่คลอด.
[คฺลอน] ว. เคลื่อนไปมาได้ในที่บังคับ เช่น ฟันคลอน. (อะหม คอน ว่า เคลื่อน).
[-แคฺลน] ว. ง่อนแง่น, ไม่มั่นคง, เช่น ฐานะคลอนแคลน.
[คฺล้อย] ว. เพิ่งพ้นจากที่กําหนดไป เช่น เขาเพิ่งเดินคล้อยไปเมื่อสักครู่นี้. ก. บ่าย, ชาย, เรียกอาการที่ดวงตะวันเลยเที่ยงไปแล้วว่า ตะวันคล้อย, เรียกอาการที่ดวงจันทร์เลยเที่ยงคืนไปแล้วว่า เดือนคล้อย; หย่อนลง, ลดต่ำ, เรียกนมที่หย่อนลงเล็กน้อยว่า นมคล้อย.
ก. ไกลออกไปทุกที, เคลื่อนออกไปไกล. (อะหม คล้อย ว่า ไปช้า ๆ).
ก. สอดคล้องไปในทางเดียวกัน, มีความเห็นอย่างเดียวกัน, เช่น ฉันเห็นคล้อยตามเขา.
ว. ผ่านพ้นไปยังพอเห็นหลังไว ๆ เช่น เขาเพิ่งเดินคล้อยหลังไปไม่นาน.